วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

งานที่ 2 การพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ

1. เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า
จากผลการทดลองพบว่า 90% ของกำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ และมักจะใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง ดังเช่นการทำงานของคอมพิวเตอร์ ถ้าใส่ software ที่ผิด ผลการคำนวณก็ออกมาผิดถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ในทางทฤษฎีพบว่า "สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลที่มีความสลับซับซ้อนได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์" ถ้าสมมติฐานดังกล่าวเป็นจริง เราก็น่าจะเรียนรู้อะไรได้เร็ว มีความจำเป็นเลิศ แต่ในชีวิตจริงทำไมกลับตรงกันข้าม หรือเป็นเพราะเราไม่รู้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรียนรู้ช้าและปัจจัยอะไรที่ทำให้เรียนรู้ได้เร็ว เมื่อคุณพบคำตอบ คุณอาจค้นพบตัวเองก็ได้
2. ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า
เพราะขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตัวเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า คิดไม่ชัดเจนหรือคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ
3. ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว
1. เปลี่ยนความคิดจากทางลบ (Negative) มาเป็นทางบวก (Positive)
- ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
- ต้องรู้ระบบความคิดของตนเองก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้ เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น- ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิดในทาง Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น
2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจจากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือการสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิดทาง Negative ได้ชั่วคราว
3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใดถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน ต้องคิดหาตรรกะ (logic) ด้วยตนเอง ต้องเห็นด้วยตา ถ้าฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประิสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
- รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว
- ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด
4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมองจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากจะทำให้มีความสดชื่น กระตือรือร้นแล้ว เมื่อออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมองทำงาน (function) ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ สมองส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้สามารถใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วน ได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว
6. ควรเข้าใจการทำงานของสมองการทำงานของสมองในส่วนความจำจำทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้- ช่วงเช้า ความจำระยะสั้น - ช่วงบ่าย ความจำระยะยาว - ก่อนนอน ความจำเกี่ยวกับตัวเลข
4. ทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในแต่ละแบบได้
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน บางคนจะเรียนรู้ได้ดี จากการพูดคุยหรือจากการอ่าน เป็นต้น ดังนั้น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของสมองย่อมแตกต่างไปตามรูปแบบการเรียนรู้ ดังนี้
1. การสร้างความจำทางกายภาพสมองมนุษย์สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ภายในเวลา 1/1000 วินาที ข้อมูลที่ได้รับจะอยู่ภายในสมองครบถ้วนโดยไม่รู้ตัว เพียงแต่เราไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้ สาเหตุหนึ่งมาจาก "การลืม" ทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การอ่าน ฟัง หรือคิด เป็นต้น จะเกิดอัตราการลืมโดยเฉลี่ยภายใน 5 นาที จะจำข้อมูลได้ 50% และถ้าผ่านไป 1 วัน จำได้ 10% จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ แต่ข้อมูลทั้งหมดยังอยู่ในสมองของเรา 2. การอ่านinformation if power ในสังคมปัจจุบันใครที่มีข้อมูลมากก็ย่อมมีความคิดที่ลุ่มลึกกว่า และความคิดก็จะนำมาซึ่งเงินทอง ฐานะ ตำแหน่ง และอำนาจ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการอ่าน เราควรทราบวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านด้วยวิธีง่าย ๆ อันดับแรก คือ ถามตัวเองก่อนว่า "เราต้องการประโยชน์อะไรจากการอ่านในครั้งนี้"

เทคนิคในการอ่านเร็ว
1. ควรอ่านไม่มีเสียง อ่านในใจ
2. การอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อหาประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ สามารถทำได้โดย เริ่มต้นการอ่านด้วยการหา Key concept แล้วตัดสินใจว่าจำเป็นต้องอ่านหรือไม่ เราต้องการรู้อะไร และจะอ่านส่วนไหนบ้าง รวมทั้งอ่านเจาะประเด็น ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทุกหน้า
3. ต้องประเมินแหล่งข้อมูล เพราะประโยชน์สูงสุดของการอ่าน คือ การนำข้อมูลมาใช้ จึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือ และแหล่งที่มาของข้อมูล โดยการพิจารณาจากความทันสมัย (update) ของข้อมูล สำนักพิมพ์ เป็นต้น
3. การฟังตามทฤษฎีที่ว่าข้อมูลที่เราได้รับทุกอย่างจะถูกบันทึกในสมอง ถ้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทางบวกเยอะ ๆ ย่อมทำให้เราเป็นคนมองโลกในแง่บวก พร้อมที่จะแก้ปัญหามากกว่ายอมแพ้ปัญหา ดังนั้น เราควรกลั่นกรองแต่ละข้อมูลที่เราได้รับ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกบันทึก (memory) ลงในสมอง ซึ่งมีกลวิธี ดังนี้
1. ประเมินผู้พูด : มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
2. self-talk : ถามตัวเองตลอดเวลาว่า "ผู้พูดต้องการพูดเพื่ออะไร"
3. ฟังด้วยความรู้สึก : ใช่หรือไม่ใช่
4. การคิดคนที่ประสบ่ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมี IQ สูง แต่ต้องมีความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างสร้างสรรค์ ในเรื่องที่มีประโยชน์

ที่มา : สลค. สาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษฎาคม 2549

http://www.moe.go.th/check/newnaru13.htm

ไม่มีความคิดเห็น: