วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ชะพลู


ยาปรับธาตุ ควบคุมน้ำตาลในเลือด สวัสดีค่ะ ฉบับนี้ขอเริ่มต้นด้วยข่าวประชาสัมพันธ์กันก่อนก็แล้วกันนะคะ ขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่3 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพคเมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2549 นี้ค่ะ ในงานนอกจากอภัยภูเบศรซึ่งจะร่วมงานอย่างแน่นอนแล้ว ก็ยังมีหน่วยงานราชการและผู้ผลิตสมุนไพรไปร่วมงานกันมากมาย รับรองค่ะว่าถ้าท่านไปงานนี้ไม่ผิดหว้งอย่างแน่นอน ส่วนตัวผู้เขียนก็ไปแน่นอนค่ะ ถ้าอยากพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลสมุนไพรก็เรียนเชิญได้ที่บูธอภัยภูเบศร ส่วนท่านผู้อ่านที่ไปไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ ผู้เขียนจะเก็บภาพงานมาฝากในฉบับเดือนตุลาคมค่ะ ส่วนฉบับนี้ขอทำหน้าที่ก่อนนะคะ มีผู้อ่านท่านหนึ่งโทรมาถามผู้เขียนถึงสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาเบาหวาน และติงผู้เขียนว่าเขียนเชียร์แต่มะระขี้นก แล้วตัวอื่นหล่ะได้ผลหรือไม่ ผู้เขียนก็ไม่ได้เชียร์อะไรทั้งสิ้นค่ะ เพียงแต่ให้ข้อมูลตามเอกสารที่มีการตีพิมพ์และประสบการณ์ของผู้เขียนเองเท่านั้น ดังนั้นในฉบับนี้เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีทางเลือกมากขึ้น จึงใคร่ขอแนะนำชะพลู ซึ่งเป็นสมุนไพรอีกชนิดของอภัยภูเบศรที่สามารถนำมาใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ชะพลูมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชะพลูเป็นไม้ล้มลุก แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือไม้เถาและไม้เลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หน้าใบสีเขียวเขัมลื่นเป็นมัน หลังใบสากมีสีเขียวหม่น ชะพลู บางคนเรียกว่า ช้าพลู ซึ่งในแต่ละพื้นที่ ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ผักอีเลิด (ใชัเรียกช้าพลูชนิดเถา) ผักอีไร (ใช้เรียกช้าพลูชนิดเลื้อย) หรือ นมวา เป็นต้น ชะพลูชอบขึ้นตามที่ชื้นและที่ลุ่มต่ำ บ้างก็อยู่ข้างลำธาร บ้างก็อยู่ในป้าดิบแล้งและก็มีตามบ้านเรือนที่ปลูกพืชผักสวนครัวกันในประเทศไทยนั้นก็ปลูกกันแทบทุกภาคเลยก็ว่าได้ ชะพลูมีประโยชน์ทั้งทางยาและทางอาหาร ในตำรายาโบราณมีคำกล่าวว่า "รากชะพลูแก้คูถเสมหะ (ขับเสมหะออกทางอุจจาระ) ต้นแก้อุระเสมหะ (เสมหะในทรวงอก) ลูกขับศอเสมหะ (เสมหะในลำคอ) ใบทำให้เสมหะงวดและแห้งเข้า แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ" ส่วนวิธีการรับประทานก็จำง่ายๆ โบราณท่านว่าให้ต้ม 3 เอา 1 หมายถึงใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มใบ ราก หรือ ทั้งต้นของชะพลู ต้มจนเหลือน้ำ 1 ส่วน อย่าใช้ไฟแรงเกินไป ต้องต้มให้ยาค่อยๆเดือด แล้วจึงนำมารับประทาน 1/2 - 1 แก้วก่อนอาหาร 3 เวลา ก็จะช่วยขับเสมหะ แก้จุกเสียดได้ ชะพลูยังนำมาใช้เป็นยาปรับธาตุในร่างกายได้ด้วย ซึ่งคนโบราณท่านมิได้ศึกษาปฎิกิริยาต่างๆ ในร่างกายออกมาเหมือนกับหมอแผนปัจจุบัน แต่ท่านสังเกตเอาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แล้วจึงนำสมุนไพรมาปรุงแต่งรับประทานในรูปของยาและอาหารเพื่อแก้อาการเหล่านั้น จนสรุปเป็นทฤษฎีการปรับธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ โดยนำสมุนไพร 9 ชนิด ได้แก่ ช้าพลู ดีปลี สะค้าน เจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทย สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม มาปรุงเป็นยาปรับธาตุทั้ง 4 ใช้รักษา เมื่อธาตุนั้นๆ มีอาการพิการ (ผิดปกติ) กำเริบ (มากเกินไป) หรือหย่อน (น้อยไปหรือไม่สมบูรณ์) นอกจากประโยชน์ทางยาแล้ว ชะพลูยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ฉบับหน้าจะมาเล่าให้ฟังถึงคุณค่าทางอาหาร รวมถึงงานวิจัยของชะพลูที่มีอยู่ในขณะนี้ สวัสดีค่ะ


ชะพลู อาหารผู้ป่วยเบาหวาน

จริงๆแล้วจากการทบทวนข้อมูลของชะพลู ตัวผู้เขียนเองค่อนข้างจะเห็นว่าชะพลูเหมาะที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารมากกว่ายา เพราะโดยตัวของชะพลูเองแล้วจะช่วยปรับธาตุของร่างกายให้ได้สมดุลดังนั้นการใช้ประโยชน์ในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพจะมีประโยชน์มากกว่าการซ่อมสุขภาพเมื่อป่วยแล้ว แต่อีกมุมหนึ่งตัวชะพลูเองก็มีคุณค่าทางอาหารสูงอย่างคาดไม่ถึง ในใบชะพลู 100 กรัม ให้พลังงานกับร่างกาย 101 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

-เส้นใย 4.6 กรัม

-แคลเซียม 601 มิลลิกรัม

-ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม

-เหล็ก 7.6 มิลลิกรัม

-วิตามินบีหนึ่ง 0.13 มิลลิกรัม

-วิตามินบีสอง 0.11 มิลลิกรัม

-ไนอาซิน 3.4 มิลลิกรัม

-วิตามินซี 22 มิลลิกรัม

-โปรตีน 5.4 กรัม

-คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม

-และให้เบต้า

-แคโรทีนสูงถึง 414.45 ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล

ไม่มีความคิดเห็น: